วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของการเล่นเกมส์

ข้อดีและข้อเสียของfacebookกับลูกในช่วงวัยรุ่น

ในปัจจุบัน FaceBook หรือ Twitterเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นและบุคคลที่ต้องการสื่อสารสัมพันธ์กัน แม้ว่า FacBook จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่จากการศึกษาพบว่าในทางกลับกันFaceBookก็สามารถเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน
      
    
  ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า FaceBook คืออะไร?
      
       FaceBook เป็นซอฟท์แวร์ในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลต่างๆที่ต้องการ หรือใส่ความสนใจที่ชอบ จากนั้นระบบจะค้นหาผู้ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน และผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบในการเชื่อมต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆได้
      
       ประวัติของ FaceBook 
      
       ผู้เริ่มต้นคิดค้น FaceBook คือ Mr. Mark Zuckerburg อายุ 23 ปี เมื่อปี ค.ศ. 2003 ในขณะนั้นเป็นนักศึกษาแผนกจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา โดยเปิดให้เป็นบริการหนึ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดในการศึกษาหาข้อมูลเท่านั้น แต่เนื่องจากมีสมาชิกมาใช้บริการกันอย่างล้นหลามจึงทำให้มีการขยายเครือข่ายมากขึ้นและพัฒนามาถึงหลายล้านคนในโลกปัจจุบัน
      
       ข้อดีและข้อเสียของ FaceBook
      
       ข้อดี
      
       1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
      
       2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
      
       3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
      
       4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
      
       5.FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
      
       6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้
      
       ข้อเสีย
      
       1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
      
       2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
      
       3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
      
       4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
      
       5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น Facebook มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
      
       6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก
      
       7.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
      
       8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากFaceBook ทำให้ FaceBook ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่
      
       จึงกล่าวได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่องโลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นFacebookมากยิ่งขึ้น เพราะ FaceBookนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน

นิทาน 18+ . ยิ่งใหญ่ยิ่งโง่

นิทาน 18+ . ยิ่งใหญ่ยิ่งโง่ ฝากนิทานสักเรื่อง .. ชื่อ "ยิ่งใหญ่ยิ่งโง่"

ชายหาดแห่งหนึ่ง มีครอบครัวที่รักกันมากไปเที่ยวกัน
พอมาถึงทะเล ต่างคนต่างก็ไปเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แต่ภรรยาเลือกนอนอาบแดดอยู่ที่หาด

สักครู่ลูกตัวน้อยก็สงสัยบางอย่างเลยวิ่งกลับมาถามแม่ว่า
"แม่ครับไอ้ที่อยู่ในกางเกงน้าคนนั้นมันอะไรครับ ทำไมไม่เหมือนของผมเลย"

พอแม่ฟังจบก็ไม่รู้จะตอบไง จึงตอบไปส่ง ๆ ว่า
"อ้อ ไม่มีไรหรอก ยิ่งมีอันใหญ่ ๆ ก็ยิ่งโง่"

พอเด็กฟังจบก็ไปเล่นน้ำต่อ สักแป๊บไอ้หนูน้อยก็วิ่งกลับมาถามแม่ว่า
"แม่ครับไอ้ที่อยู่ในเสื้อผู้หญิงคนนั้น ทำไมมันไม่เหมือนของแม่เลย ของเค้าใหญ่โตมากเลย"

แม่ได้ฟังก็ตอบไปอีกว่า "ยิ่งใหญ่ยิ่งโง่"

พอพูดเสร็จก็วิ่งกลับไปเล่นน้ำต่อ สักพักหนึ่งก็วิ่งกลับมาบอกแม่ว่า
"แม่ครับเมื่อกี้เห็นพ่อคุยกับผู้หญิงที่เค้าโง่ ๆ อยู่ แต่ยิ่งคุยพ่อก็ยิ่งโง่ขึ้น ๆ ทุกที "

โรงเรียนพนมดงรักวิทยา

โรงเรียนพนมดงรักวิทยา
 โรงเรียนพนมดงรักวิทยา เดิมชื่อ“โรงเรียนโคกกลางวิทยาได้ก่อตั้งตามประการของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 11 ธันวาคม              พ.ศ. 2527  เปิดทำการสอนในปีการศึกษา 2528 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลโคกกลาง ตั้งอยู่ที่ บ้านจีกแดก  หมู่ที่ 6 ตำบลโคกกลาง
        อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้นสถานที่ก่อสร้าง โรงเรียนใช้บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ แปลง “ตาเบา-ทุ่งมน” ในเนื้อที่  96  ไร่ 
          สภาพพื้นที่เป็นเนินสูง  มีป่าละเมาะเป็นเนินสูง ลาดเอียงไปทางทิศเหนือ ใต้ทั้งสองข้าง บริเวณโดยทั่วไปของป่าละเมาะ บริเวณที่ตั้งครั้งแรก
          จะมีสภาพเป็นป่าเสื่อมสภาพ มีตอไม ้และจอมปลวกเป็นจำนวนมากเนื่องจากในระยะเริ่มแรก ยังไม่มีสถานที่เรียน จึงอาศัยหอประชุมโรงเรียน
         บ้านจีกแดก( สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ตั้งแต่เปิดเรียนเป็นต้นมา
          ต่อมาได้ย้ายมาเรียนที่บริเวณก่อสร้าง ของโรงเรียนเมื่อปัจจุบันวันที่ 18 พฤศจิกายน 2528 ซึ่งเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ได้รับการ
         สนับสนุนจากสภาตำบล โคกกลาง มี นายบันเทิง สายยศ ซึ่งเป็นกำนัน ในสมัยนั้น เป็นผู้บริจาคให้เป็นสถานที่เรียนก่อน สภาพอาคารเป็นอาคาร       ชั่วคราวขนาด 3 ห้องเรียน มุงสังกะสี มีฝาไม้ด้านข้าง พื้นเป็นดินอัดแน่น  
          ต่อมาในปีงบประมาณ 2528 โรงเรียนได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคาร เรียนชั่วคราว แบบ 104/27 จำนวน 1 หลัง บ้านพักครูโสด
         แบบ 205/26 จำนวน 1 หลัง บ้านพักนักการ จำนวน 1 หลัง ห้องน้ำ ห้องส้วมแบบมาตรฐาน 6 ที่ /27 จำนวน 1 หลัง
                             ระยะแรก กรมสามัญศึกษา  ได้แต่งตั้งนายพรหม  ดาศรี   อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกาบเชิงวิทยา มารักษาการในตำแหน่งและบริหารงาน
         ต่อมาได้แต่งตั้งนายเลิศ  นพไธสง ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน พุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มารักษา การในตำแหน่งครูใหญ่
         โรงเรียนโคกกลางวิทยา  ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน  พ.ศ. 2528  เป็นต้นมา   ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528  กรมสามัญศึกษาได้บรรจุครูมาทำการสอน
         รุ่นแรก  จำนวน  5  คน  นักการภารโรง  1  คน
         ปีงบประมาณ  2529  โรงเรียนได้รับงบประมาณ อาคารเรียนแบบ  108 ล /27 จำนวน  1  หลัง ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.33  จำนวน  1  ชุด
         สระน้ำจำนวน  1  แห่ง และบรรจุนักการภารโรงอีก 1  คน 
         ปีงบประมาณ 2530 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติเงินงบประมาณเพื่อขยายเขต ไฟฟ้าในโรงเรียนและบ้านพักครูแบบ203/27  จำนวน 1 หลัง
         ในปีนี้กรมสามัญศึกษา ได้จัดให้โรงเรียนโคกกลางวิทยาเข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตชนบทยากจน ซึ่งเป็นปีแรกของประเทศ
         โรงเรียนสามารถรับนักเรียนได้จำนวน 147 คน โดยมากกว่าแผนการจัด ชั้นเรียน ที่กรมสามัญศึกษากำหนด  และมากเป็นอันดับ 1 ของโรงเรียน
         ที่เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขต การศึกษา  11 โรงเรียนต้องขยายห้องเรียนเป็น  4  ห้องเรียน ทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอ ต้องอาศัย
         ชั้นล่างอาคารเรียนแบบ  108 ล /27 เป็นที่เรียนไปก่อน
         ปีการศึกษา 2531  โรงเรียนขอปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารจากตำแหน่ง ครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่ และ นายเลิศ  นพไธสง ได้รับคำสั่งย้าย
         ไปดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกระเทียมวิทยา  จังหวัดสุรินทร์  และได้แต่งตั้ง  นายธงชัย   นิยโมสถ ตำแหน่ง อาจารย์  2
         โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนโคกกลางวิทยาแทน  ในปีนี้โรงเรียนได้รับ งบประมาณปรับปรุงอาคารชั่วคราว
         104/27  เป็นโรงฝึกงานแบบ 102/27  และได้รับการบริจาค อาคารเรียนแบบ 108  ขนาด  3  ห้องเรียน  จำนวน  1  หลัง จาก "มูลนิธิรักเมืองไทย"
         โดยมี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษประธานมูลนิธิ ิรักเมืองไทย ได้เดินทางมามอบ ด้วยตนเอง ในวันที่  19  สิงหาคม   2531
         คิดเป็นมูลค่า  800,000.00  บาท
         ปี  2532   โรงเรียนได้รับงบประมาณ  ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ  108 ล /27 จำนวน 1 หลัง บ้านพักครูแบบ  203/27 จำนวน 1 หลัง
          ห้องน้ำห้องส้วมแบบมาตรฐาน 6 ที่/27  จำนวน  1  หลัง ปีงบประมาณ  2533   โรงเรียนได้รับงบประมาณ ค่าก่อสร้างหอประชุม แบบ  100/32 
          จำนวน  1  หลัง ค่าขุด สระน้ำ  อีก  1  แห่ง
         ปีงบประมาณ 2535  โรงเรียนได้รับงบประมาณขุดสระน้ำแบบปูพลาสติก  จำนวน  1  แห่ง และ ค่าก่อสร้างหอถัง ประปา
           และเดินท่อประปาในโรงเรียน  จำนวน  1 ชุด  และโรงเรียนขอเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วย ผู้บริหารโรงเรียน เป็นตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
          โรงเรียนโคกกลางวิทยา
          ปีการศึกษา  2536  โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอน ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน สมัครเรียนจำนวน 2
         ห้องเรียน
         ปีการศึกษา  2537  โรงเรียนได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 108 จำนวน  1  หลัง และโรงเรียน ได้ขอปรับปรุงตำแหน่ง
          ผู้บริหารจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เป็น ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
           ปีการศึกษา  2538  โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ได้ปรับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน จากอาจารย์ ใหญ่โรงเรียน เป็น
          ผู้อำนวยการโรงเรียน  ต่อมา นายธงชัย   นิยโมสถ  ได้รับคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่ง  ผู้บริหารโรงเรียน บ้านบุวิทยา สรรค์  จังหวัดบุรีรัมย์
          และได้มีคำสั่งให้นายวุฒิ   วัฒนะ  ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์   มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน
          ต่อมากระทรวงมหาดไทย  ได้แบ่งเขตการปกครองใหม่ โดยแยกเขต การปกครองอำเภอกาบเชิงออกเป็นเขตการปกครองอีก  1  กิ่งอำเภอ 
          และเรียกชื่อกิ่งอำเภอใหม่ว่า “ กิ่งอำเภอพนมดงรัก” โรงเรียนโคกกลางวิทยา  จึงขอเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนพนมดงรักวิทยา ”
          ตามเขตการปกครองใหม่ และเป็นโรงเรียน ประจำกิ่งอำเภอพนมดงรัก เป็นต้นมา
          ปีงบประมาณ 2539  โรงเรียนได้รับการพิจารณาเข้าสู่ปฏิรูปการศึกษา  รุ่นแรก และได้รับงบประมาณ ค่าจัดซื้อ คอมพิวเตอร์ 
         และครุภัณฑ์การศึกษาอื่นๆ
          ปีการศึกษา 2542   โรงเรียนพนมดงรักวิทยา  ได้ขอกำหนดตำแหน่งสายงานบริหารโรงเรียนอีก 1 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งผู้ช่วย
          ผู้อำนวยการ  และในปีนี้นายวุฒิ  วัฒนะ  ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เกษียณอายุราชการในวันที่  30  กันยายน  2542  และในวันที่  9 
          ธันวาคม  พ.ศ.  2542  กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายเมธี  แตงจันทึก  ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนดอนแรดวิทยา  มาดำรงตำแหน่ง
          ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมดงรักวิทยา จนถึงวันที่ 19ธันวาคม2545  กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายเมธี แตงจันทึก ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่ง
          ผู้อำนวยการโรงเรียนสวายวิทยาคาร และแต่งตั้งนายจำลอง   ชูเชิด ผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา  มาดำรงตำแหน่ง
          ผู้อำนวยการโรงเรียน พนมดงรักวิทยา แทนใน วันที่  20 ธันวาคม   2545  -2550
           ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียนพนมดงรัก คือ นายสมโภชน์ สุขเจริญ

ภาพสบายสบาย

สวย ใส สดชื่น สบายตา ชื่นใจ