วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ

https://sites.google.com/site/hxngsmudkabkarrusarsnthes/bth-thi-3-kar-cad-hmu-thraphyakr-sarnithes

แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/hxngsmudkabkarrusarsnthes/bth-thi-3-kar-cad-hmu-thraphyakr-sarnithes

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความหมายของทฤษฎี


เอกสารประกอบแผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง   การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้  By  ครูหนิง

ใบความรู้ที่  1
ความหมายของทฤษฎี

          ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็นเซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยง ซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรม การบริหารองค์กรการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

แนวคิดทางสังคมและทฤษฎีสังคม
            แนวคิดทางสังคม (Social thought)  หมายถึง  ความคิดของมนุษย์โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ความคิดที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ กรณีที่คิดคนเดียวก็ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย แม้ไม่ยอมรับทั้งหมดก็อาจยอมรับเพียงบางส่วน ความคิดนั้นจึงคงอยู่ได้  Emory Bogardus  ได้ให้ความหมายแนวคิดทางสังคมว่า “เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่มคน ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” อาจารย์วราคม ทีสุกะ ให้ความหมายว่า “แนวคิดทางสังคมเป็นความคิดของมนุษย์ เกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของมนุษย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป และปัญหาที่ประสบ ความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่มนุษย์ ไม่สูญหาย มีการสืบความคิดกันต่อไป
ประเภทของแนวคิดทางสังคม
            ได้เรียบเรียงจากความคิดของ Bogardus ได้ 5 ประเภท  เรียกว่า “แนวทางห้าสายของความคิดมนุษย์” (five lines of human thought)  ดังนี้
            1. ความคิดเกี่ยวกับจักรวาลเป็นความคิดของคนโบราณเกี่ยวข้องกับลักษณะของสากล จักรวาล และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล มนุษย์ยุคโบราณสนใจในศาสนา ในจิตและวิญญาณ มีความคิดความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ภูต ผี เทวดา ลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น ลัทธิเทพเจ้าองค์เดียว (monotheism) ลัทธิเทพเจ้าหลายองค์ (polytheism) การปกครองโดยสงฆ์  (monotheism) 
สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความกลัวและความหวัง อุดมการณ์และการบูชายันต์ด้วยชีวิต
            2. ความคิดเกี่ยวกับปรัชญา ในขั้นนี้มีระดับความคิดเชิงปัญญาสูงขึ้น แต่ก็ยังเป็นความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับจักรวาลเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ใช่ความคิดที่สนองความจำเป็นทางศาสนา ความเชื่อ มนุษย์พยายามลดความคลุมเครือ หาความกระจ่างในสิ่งแวดล้อมของจักรวาล
            เกณฑ์คำอธิบายต่างๆอย่างมีเหตุผล หาเอกภาพจากการเปลี่ยนแปลงและหาแก่นสารในความซับซ้อน มนุษย์ได้พบว่าในยุคนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ และรู้ว่าในที่สุดทุกสิ่งจะต้องแตกดับไปมนุษย์พยายามสร้างความหมายสูงสุดของสิ่งต่างๆอย่างไม่มีอคติตามความรู้ความสามารถที่สูงขึ้นของตน
            3. ความคิดเกี่ยวกับตนเอง เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและความรู้ทางปรัชญาเพียงพอแล้ว มนุษย์ก็หวนกลับมาคิดถึงตัวเอง คิดถึงบุคลิกลักษณะ โครงสร้างและหน้าที่ของการคิดการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติของตนเอง คิดถึงความฉลาด ความโง่ ความจำ ความฝันและสิ่งต่างๆเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งเป็นที่มาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่
            4. ความคิดเกี่ยวกับวัตถุ ได้แก่ความรู้สึกเกี่ยวกับ หิน ดิน น้ำ อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ และมนุษย์จำเป็นต้องรู้จัด เพื่อป้องกันอันตราย หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ การคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ได้บ่อถ่านหิน บ่อน้ำมัน บ่อแก๊ส นำมาปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง ความคิดความรู้อันแยบยลของมนุษย์ ทำให้มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากวัตถุต่างๆ สามารถควบคุมธรรมชาติได้ นั่นคือที่มาของความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดความสะดวกสบาย
            5. ความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ ในประวัติศาสตร์มนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ในลักษณะเป็นกลุ่มน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ทำให้กับเรื่องต่างๆใน  4  ข้อแรก และได้หันมาสนใจเรื่องของเพื่อนมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างมนุษย์กับสังคม ภาระหน้าที่ความผูกพันที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม ลักษณะของชีวิตสังคม แนวโน้มทางสังคม ปัญหาสังคม หลักการ การศึกษาวิเคราะห์สังคม อันเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมศาสตร์ใน
สังคมสมัยใหม่

ตัวอย่างความคิดทางสังคม อาจแยกออกเป็นกลุ่ม ดังนี้
            1. ปรัชญาชีวิต สังคมไทยหรือสังคมอื่นความคิดทางสังคมอาจแสดงออกในรูปของปรัชญาชีวิต หมายถึง เป้าหมายสูงสุดของชีวิต รวมทั้งแนวทางการไปสู่เป้าหมาย สังคมแต่ละสังคมจะมีปรัชญาชีวิตของสังคมด้วย เช่น กรณีของสังคมไทย ปรัชญาชีวิตจะเป็นแบบเรียบง่าย รักอิสระเสรี โอบอ้อมอารี มีศีลธรรม
            2. ศาสนา ความคิดทางสังคมดูจากศาสนาประจำชาติ ประจำสังคม สังคมไทยคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เรียกว่า พุทธศาสตร์ ครอบคลุมความคิดด้านต่างๆของสังคม ทั้งครอบครัว เศรษฐกิจ การศึกษา หรือการเมืองการปกครอง
            3. ประวัติศาสตร์ เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดทางสังคม เป็นข้อมูลที่ประมวลเรื่องราวความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ เช่น การจัดชุมชน การทำมาหากิน การปกครองบังคับบัญชา วิธีต่อสู้ การป้องกันการรุกราน
            4. วรรณคดี เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ข้อมูลทางสังคม เป็นการบันทึกเรื่องราวทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น นิทาน ตำนาน จะมีแง่มุมแสดงให้เห็นถึงความละเอียดลออต่างๆ
            5. ภูมิปัญญาไทย หรือความรู้พื้นบ้าน ศึกษาได้จากด้านอนามัย สาธารณสุข เช่น ยาสมุนไพร ความรู้เกี่ยวกับฤดูกาล เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ การช่างประเภทต่างๆ การรบ
 การกีฬา
            6. สุภาษิต เป็นคติ คำพังเพย ปริศนาคำทาย มีอยู่ในแหล่งต่างๆที่เป็นสังคม ชุมชน

ทฤษฎีสังคม (Social Theory)
            ความหมายของทฤษฎี คือ คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะต้องเป็นคำอธิบายตามหลักเหตุผลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นอย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้
            ดังนั้น ความหมายของทฤษฎีสังคม คือ คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้
            ทฤษฎีสังคมตามความหมายดังกล่าว จึงมีขอบเขตกว้างขวาง เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับคนแต่ละบุคคล กลุ่มคน ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างๆรวมไปถึงคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ข้อสำคัญนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเหตุผล มีระบบระเบียบพอที่จะเป็นฐานในการพยากรณ์เรื่องทำนองเดียวกันในอนาคตได้ Jame Miley “โดยทั่วไป ความพยายามที่จะอธิบายส่วนหนึ่งส่วนใดของสังคม (Social life) ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีสังคมและ Henry P Fairchild ให้ความหมายว่า “ทฤษฎีสังคม คือ การวางนัยทั่วๆไปหรือข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป เพื่ออธิบายปรากฏการณ์สังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทฤษฎีทางสังคมกับแนวคิดทางสังคม มีความคล้ายคลึงกัน  แต่ไม่เหมือนกัน ดังนี้
            ประการแรก ทฤษฎีทางสังคมเป็นคำอธิบายเรื่องเกี่ยวกับคน หรือความสัมพันธ์ระหว่างคน ซึ่งเป็นการรู้ระดับหนึ่งที่ยังไม่ถึงขั้นอธิบาย
            ประการที่สอง ทฤษฎีทางสังคม แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคนหรือระหว่างคนต่อคนอย่างมีระบบ แต่ความคิดทางสังคมไม่กำหนดว่าต้องเป็นเช่นนั้น
            ประการที่สาม ทฤษฎีทางสังคมมีความสามารถพยากรณ์อนาคตได้แต่ความคิดทางสังคมไม่ถึงขั้นนั้น
            ประการที่สี่ ทฤษฎีทางสังคมอาจมีรูปของข้อความที่เตรียมไว้สำหรับการพิสูจน์ด้วยข้อมูลประจักษ์ ทฤษฎีทางสังคมอาจมีทั้งที่เคยตรวจสอบด้วยข้อมูลประจักษ์ หรือยังไม่เคยผ่าน แต่ได้มีการเตรียมหรือมีลักษณะที่พร้อมจะให้พิสูจน์
            กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีสังคม คือ คำอธิบายปรากฏการณ์สังคมอย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเหตุผล โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์สังคมนั้น จนสามารถที่จะ พยากรณ์ปรากฏการณ์สังคมในอนาคตได้ ทฤษฎีสังคมมีความหมายกว้างเป็นทฤษฎีของจิตวิทยา ซึ่งอาจหมายถึงเรื่องของคนแต่ละคนก็ได้ (Psychology studies human interaction of individuals)หรืออาจหมายถึงทฤษฎีรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจของคนหลายคนที่เกี่ยวข้องกัน หรืออาจหมายถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ อันเป็นเรื่องของคนหลายคนกับวัตถุในการผลิตการจำหน่ายจ่ายแจกผลิตภัณฑ์และบริการในการอุปโภคบริโภคได้ และอาจเป็นทฤษฎีสังคมวิทยา เป็นเรื่องของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์หรืออาจจะเป็นทฤษฎีของมานุษยวิทยาเป็นเรื่องของคนที่มีแบบแผนการคิด การกระทำหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทฤษฎีทางสังคมจึงคล้ายกับแนวคิดทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับคนและความสัมพันธ์ระหว่างคน รวมทั้งระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีความแตกต่างกันที่ทฤษฎีเป็นข้อความที่เป็นไปตามหลักเหตุผล มีระบบและพยากรณ์ปรากฏการณ์ในอนาคต
ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา (Sociological Theory)
            ความหมายของทฤษฎี สังคมวิทยาอาจมีได้ทั้งความหมายอย่างกว้าง หรือความหมายอย่างแคบเจาะจง ทฤษฎีสังคมวิทยาทุกทฤษฎีจะต้องมีลักษณะพื้นฐานเดียวกับทฤษฎีสังคม คือ ต้องเป็นคำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล มีระบบและพยากรณ์ได้ ตัวอย่างทฤษฎีสังคมอย่างกว้าง คือ ทฤษฎีเชิงสังคมวิทยามหภาพ (Grand Theroies) ซึ่งเป็นทฤษฎีเชิงบรรยายความ หากจะพิสูจน์ความจริงก็ต้องนำมาเขียนใหม่ จัดรูป กำหนดสังกัปให้มีจำนวนพอสมควร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัป แล้วจึงสามารถพิสูจน์ได้ ทฤษฎีสังคมอย่างแคบ คือ ทฤษฎีสมัยใหม่ยังไม่มีจำนวนน้อย มีข้อความกระทัดรัดชัดเจนพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานประจักษ์เต็มที ตัวอย่าง ถ้ามีคนตั้งแต่สองคนหรือมากกว่ามีการกระทำระหว่างกัน ถ้าเขาสามารถพูดคุยกัน เข้าใจกัน ถ้าการกระทำนั้นยืนยาวเป็นเวลา 15 นาที หรือนานกว่านั้นแล้ว กลุ่มขนาดเล็กแบบซึ่งหน้า (face-to-face) ก็เกิดขึ้น ทฤษฎีแบบนี้มีสังกัปจำนวน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัปและคนตามหลักเหตุผล มีระบบสามารถทำนายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยาจึงหมายถึง คำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์นั้นอย่างมีระบบ จนสามารถพิสูจน์ความจริงนั้นได้
            ทฤษฎีสังคมวิทยา เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่อาศัยลักษณะของความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นหลักในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
เปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม
            - เชิงความเป็นวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสังคมวิทยาจะเน้นลักษณะวิทยาศาสตร์มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อทฤษฎีสังคมวิทยาอยู่ในรูปของทฤษฎีทางการ (formal Therory)
            - เชิงลักษณะ ทฤษฎีทั้งสองประเภทนี้ต่างก็มีรูปแบบบรรยายและมีขอบข่ายกว้าขวางเหมือนกัน แต่ทฤษฎีสังคมวิทยาจะมุ่งไปที่ลักษณะเล็กกระทัดรัด เป็นรูปแบบที่เหมาะแก่การทดสอบหรือพิสูจน์ความถูกต้องตามแบบปฏิบัติของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
            - เชิงสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ในแง่ที่ว่า ทฤษฎีสังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสังคม ความรู้สังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สังคมศาสตร์ แต่ไม่อาจพูดได้ว่าทฤษฎีสังคมทุกทฤษฎีเป็นทฤษฎีสังคมวิทยา







      ทฤษฎีวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
          ใช้เป็นหลักในการแสวงหา (searching) หรือพิสูจน์ (proving) ข้อเท็จจริง หรือสัจจะ ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานหลักเพื่อการพัฒนาการบริหารหรือการปฏิบัติงานการสื่อสารทุกประเภท รวมทั้งใช้เป็นหลักในการปรับปรุงวิพากษ์วิจารณ์สื่อ หรือการสื่อสารให้มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์ ปรัชญาในที่นี้มิได้หมายถึงวิชาปรัชญาทั่วไป (general philosophy) แต่หมายถึงแนวคิดลึกซึ้งและกว้างขวางบนพื้นฐานการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสมมติฐานของการวิจัย และการอ้างอิงในการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์
          ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เพิ่มขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ แนวดิ่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าลึกซึ้งในความหมายปรัชญา วัตถุประสงค์บทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพ และความรับผิดชอบของการสื่อสารประเภทต่าง ๆ
แนวราบ ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างนิเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ อาทิ จิตวิทยา สังคมวิทยา สังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) พิภพศาสตร์ (Earth sciences)
          นอกจากนั้น ยังอาจนำไปสู่การปฏิรูปหรือการปฏิวัติวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ให้มีคุณ ประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อชีวิตและโลก ก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุนในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศต่าง ๆ และในโลกมนุษย์โดยรวม
          ทฤษฎีไซเบอร์เนติกส์ของนอร์เบิร์ต วีเนอร์ และทฤษฎีสารเวลาขาองสมควร กวียะ (เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545) เป็นตัวอย่างของทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปบูรณาการกับศาสตร์ทุกแขนงทั้งในทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
          ส่วนทฤษฎีปทัสถานซึ่งเริ่มต้นโดยวิลเบอร์ชรามม์แสดงให้เห็นถึงการศึกษาเจาะลึกลงไปในบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของสื่อในปริบทของประเทศต่าง ๆ ที่มีปทัสถานทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ เสรีนิยม อำนาจนิยม เบ็ดเสร็จนิยม และทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม  โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารทุกแนวและทุกระดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา ทางนิเทศศาสตร์ที่จำเป็นต่อการทำงานและการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เช่นเดียวกับทฤษฎีในศาสตร์ทุกแขนง
          ทฤษฎีการสื่อสารมีประโยชน์ต่อชีวิต องค์กร สังคม และโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การศึกษาหรือการทำงานที่ปราศจากหลักการหรือทฤษฎี ย่อมเปรียบเสมือนการแล่นเรือออกไปสู่จุดหมายปลายทางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร โดยปราศจากความรู้ทางภูมิศาสตร์ อุตุนิยม ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นอกจากจะขาดประสิทธิผล (คือแล่นเรือไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง) หรือขาดประสิทธิภาพ (คือแล่นเรือไปถึงช้ากว่ากำหนด) แล้วยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหาที่สำคัญสองประการคือ ความเสียหายจากภัยอันตราย (เช่น เรือเกยหินโสโครกหรือเรือแตกเพราะพายุ) และความเสียหายจากการพลาดโอกาส (เช่น ท้องเรือว่าง ยังบรรทุกสินค้าบางประเภทได้อีก แต่ไม่รู้ไม่สนใจความต้องการ ของตลาด)
          ในทางนิเทศศาสตร์ ความเสียหายจากภัยอันตราย (risk cost) เห็นได้ชัดจากการสื่อสารโดยไม่รู้กฎหมายหรือจริยธรรมและการสื่อสารโดยไม่รู้หลักจิตวิทยา
          ความเสียหายจากการพลาดโอกาส (opportunity cost) อาจได้แก่ การบริหารสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์โดยขาดความรู้หรือไม่คำนึงถึงศักยภาพของเครื่องส่งหรือของบุคลากร การไม่ถือโอกาสสื่อสารทำความเข้าใจเมื่อเราได้พบบุคคลที่มีปัญหาขัดแย้งกับเรา ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมของนิวคอมบ์ ซึ่งบอกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นโอกาสสำคัญของการประนีประนอมความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
          ความเสียหายอันเกิดจากการพลาดโอกาสในทางนิเทศศาสตร์ อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การมิได้รายงานหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสภาพอากาศให้ชาวประมงทราบ อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชีวิตและเรือประมง ดังเช่น กรณีพายุที่ขึ้นฝั่งภาคใต้ของไทย หลายครั้ง
          การมิได้สื่อสารสร้างความอบอุ่นในครอบครัว อาจนำไปสู่การติดยาของลูกหลาน หรือแม้แต่การฆ่าตัวตายตามทฤษฏีของเอมิลดูรแกง (Émile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เขียน “Le Suicide” (การฆ่าตัวตาย) ในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ ซึ่งได้เสนอว่าสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตาย คือความวิปริตผิดปกติ (anomaly) ที่มิได้มีการระบายถ่ายเทด้วยการสื่อสารกับบุคคลอื่น
ทฤษฎีทางภาษา
ความหมายของภาษา

          ภาษาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือช่วยทำให้มนุษย์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมต่อกัน เช่นในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดเพื่อสื่อความหมายในชุมชนหนึ่ง ๆ ในด้านจิตวิทยา ภาษา หมายถึง ความสามารถในการติดต่อสื่อความหมาย หรือ เพื่อแสดงความรู้สึก และ ความคิด ภาษาจึงหมายถึงการพูด การเขียน ทำท่าทางประกอบการแสดงสีหน้า และการใช้ภาษาใบ้เป็นต้น ประเทิน มหาขันธ์ กล่าวว่า ภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด เพื่อใช้สื่อความหมายทำความเข้าใจซึ่งกันและกันบุญยงค์ เกศเทศ กล่าวว่าภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคม
          กาญจนา นาคสกุล กล่าวว่า ภาษาเป็นหัวใจของมนุษย์ เพราะถ้าปราศจากภาษา มนุษย์ย่อมไม่ต่างจากสัตว์ เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ที่สัมพันธ์กับความคิด และการสร้างสรรค์ในสังคมมนุษย์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้สังคมมนุษย์เจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบันและภาษาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาคน เพราะเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลให้เกิดปัจจัยอื่น ๆ นักทฤษฏีพัฒนาการได้ศึกษาความสำคัญของภาษาที่ว่า เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมและสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ดวงเดือน ศาสตรภัทร กล่าวว่า ภาษามีความสำคัญ 3 ประการ  ได้แก่
          1. เด็กสามารถจะใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสารกับ บุคคลอื่นและเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการทางสังคมขึ้น
ทฤษฏีพัฒนาการทางภาษา (theories of language development )
          1. ทฤษฏีความพึงพอใจแห่งตน ( the autism theory หรือ autistic ) ทฤษฏีนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเรียนเสียงอันเนื่องมาจากการพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ ( mowrer ) เชื่อว่าความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงของผู้อื่นและเสียงของตนเองเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการทางภาษา
          โลแกน และ โลแกน ได้แบ่งพัฒนาการทางการภาษาออกเป็น 7 ขั้นดังนี้
          1. ระยะเปะปะ ( stage หรือ preinguisic) อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้เป็นระยะที่เด็กนี้เป็นระยะที่เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย การเปล่งเสียงของเด็กก็เพื่อบอกความต้องการของเขา และเมื่อได้การตอบสนองเขาจะรู้สึกพอใจ
ระยะแรก ๆ จะเป็นการออกเสียงคำนามต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง นก แมว หมา ฯ ลฯ และคำคุณศัพท์ต่าง ๆ ที่เขาเห็น รู้สึกและได้ยิน ซึ่งในวัยต่าง ๆ เขาจะสามารถพูดได้ดังนี้
          - อายุ 3 ขวบ เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
          - อายุ 4 ขวบ เด็กจะเริ่มใช้คำศัพท์ต่าง ๆ และรู้จักการใช้คำเติมหน้า และลงท้ายอย่างที่ผู้ใหญ่ใช้กัน
ราศรี ทองสวัสดิ์ กล่าวว่า ภาษาของเด็กประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ตามลำดับ ทักษะทางภาษามีความเกี่ยงข้องกับเด็กดังนี้
          - การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่มีผลต่อการพูด อ่าน และเขียน จากการศึกษาของแพทย์พบว่าเด็กฟังเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาการฟังจึงมีความสำคัญต่อเด็กเด็กที่อยู่ท่ามกลางความอบอุ่นมีคนพูดคุยอยู่ด้วยเสมอ ๆ การฟังจะพัฒนาขึ้น
          - การพูด เด็กเล็ก ๆ จะฟังคนอื่นพูดก่อนแล้วจึงเรียนรู้ที่จะออกเสียงการพูดของเด็กจะเป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการโดยเด็กจะพูดได้น้อยคำ แล้วจึงค่อย ๆ พูดได้มากขึ้น ๆ ตามลำดับ จนกระทั่งสามารถเล่าเรื่องราวหรือสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่น
          - การอ่านจะมีประโยชน์ต่อเด็กเมื่อเด็กอ่านแล้วเข้าใจ ก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือได้นั้นเด็กควรมีพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอ่าน ได้แก่ ความสนใจการอ่าน สามารถจำรูปของคำและเสียงได้ รู้ความหมายของคำ ตลอดจนฝึกพูดเป็นประโยคได้ มองเห็นความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนพยัญชนะ และเสียง รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์ ทราบว่าคำไหนหมายถึงสิ่งใดและสิ่งที่ควรคำนึง คือ สิ่งที่เด็กอ่าน ควรมีความหมายต่อเด็ก และการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน ดังนั้นการสอนอ่านแก่เด็กควรเป็นไปตามขั้นตอน การอ่านหากทำได้ดีจะมีผลต่อการเขียนด้วย
          อายุ 1 - 1 1/2 ขวบ เด็กจะสามารถกำสิ่งที่เป็นแท่งขีดเขียนได้แต่ไม่เป็นรูปร่าง
          อายุ 1  1/2 - 2 ขวบ ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่ง ๆ ได้
          อายุ 2 - 3 ขวบ ขีดเป็นวง ๆ ได้แต่ไม่สมบูรณ์
          อายุ 3 - 4 ขวบ ขีดกากบาทและสี่เหลี่ยมตามแบบได้
          อายุ 4 - 5 ขวบ วาดรูปคนมีอวัยวะ 3- 4 ส่วนได้
          อายุ 5 - 6 ขวบวาดรูปคนโดยมีส่วนสำคัญ 6 ส่วนได้ และวาดรูปสามเหลี่ยม ขนมเปียกปูนที่มีมุมแหลมอยู่ในแนวตั้งได้มาถึงขั้นนี้เด็กจะมีความพร้อมที่จะเขียนหนังสือได้ ซึ่งแสดงว่าเด็กมีคุณสมบัติในการใช้มือหรือกล้ามเนื้อเล็กขีดเขียนไปในทิศทางที่ต้องการ ตาสามารถมองเห็นความเหมือน ความแตกต่าง ของสิ่งต่าง ๆ มือและตาทำงาน สัมพันธ์กันได้และมีความจำดี เมื่อเด็กมีความพร้อมก็จะเขียนหนังสือด้วยใจ ไม่ต้องถูกบังคับ ขู่เข็ญ เด็กจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนหนังสือไปด้วย จะเห็นได้ว่า พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาของเด็กจะพัฒนาได้ดี จากการมีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม และได้รับแรงเสริมทางบวกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ภาษาและการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอ เช่นการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง การสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กเจริญงอกงามไปได้ด้วยดี
ความสำคัญของภาษา
          2. เด็กสามารถใช้ภาษาเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นภายในจากรูปแบบของการคิดโดยระบบของการใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาการทางภาษาในระดับต่อไป
          3. ภาษาเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก ดังนั้นเด็กจึงไม่ต้องอาศัยการจัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ เพื่อแก้ปัญหา เด็กสามารถสร้างจินตนาการถึงแม้นวัตถุนั้นจะอยู่นอกสายตาหรือเคยพบมาแล้ว เด็กสามารถทำการทดลองในสมองและทำการได้เร็วกว่าการจัดกระทำกับวัตถุนั้นจริง ๆ  จะเห็นได้ว่า ภาษามีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนามนุษย์เนื่องจากเป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสารกับบุคคลอื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางสติปัญญาและการพัฒนาทางสังคม
          2. ทฤษฏีการเลียนแบบ ( the lmitation theory) เลวิส ( lewis ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบในการพัฒนาภาษาอย่างละเอียด ทฤษฏีนี้เชื่อว่าพัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง
          3. ทฤษฏีเสริมแรง ( reinforcement theory ) ทฤษฏีนี้อาศัยจากหลักทฤษฏีการเรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ ( rhiengold ) และคณะศึกษาพบว่า เด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รับรางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
          4. ทฤษฏีการรับรู้( motor theory of perception) ลิบูอร์แมน ( liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่าการรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่าเด็กมักจ้องหน้าเวลาเรา พูดด้วยการทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟังและพูดซ้ำกับตนเอง หรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ
          5. ทฤษฏีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (babble buck ) ซึ่ง ธอร์นไดค์ ( thorndike )เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่าเมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีบางเสียงไปคล้ายกับ เสียงที่มีความหมายในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
          6. ทฤษฏีชีววิทยา ( biological theory ) เลนเนเบอร์ก ( lenneberg ) เชื่อว่าพัฒนาการทางภาษานั้นมีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้และพูดได้ตามลำดับ
          7. ทฤษฏีการให้รางวัลของแม่( mother reward theory ) ดอลลาร์ด (Dollard) และ
มิลเลอร์( miller ) เป็นผู้คิดทฤษฏีนี้โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ของเด็ในการพํฒนาภาษาของเด็กว่าภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อสนองความต้องการของลูกนั้นเป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก จากการศึกษาทฤษฏีและกระบวนการเรียนภาษดังกล่าว จะได้ว่าพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการพัฒนาการเป็นขั้นตอน เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในลักษณะที่เลียนแบบหรือลองผิดถูก การเร้าและการได้รับแรงเสริมจากคนใกล้ชิดจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษา ได้ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนพัฒนาการทางการศึกษา
          2. ระยะแยกแยะ ( jergon stage ) อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่เขาได้ยินและเด็กจะรู้สึกพอใจที่จะได้ส่งเสียงและถ้าเสียงใดที่เขาเปล่งได้รับการตอบสนองในทางบวก เขาก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีกในบางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ที่มีคนคุยกับเขา
          3. ระยะเลียนแบบ (lmitation stage) อายุ 1 – 2 ขวบในระยะนี้เด็กจะเริ่มเลียนเสียงต่าง ๆ ที่เขาได้ยิน เช่น เสียงของพ่อแม่ ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไปและเด็กจะเริ่มรับฟังเสียงที่ได้รับการตอบสนองซึ่งนับว่าพัฒนาการทางภาษาจะเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่ระยะนี้
          4. ระยะขยาย ( the stage of expansion ) อายุ 2-4 ขวบ ในระยะนี้เด็กจะหัดพูดโดยจะเริ่มจากการหัดเรียกชื่อ คน สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เขาจะเริ่มเข้าใจถึงการใช้สัญลักษณ์ ในการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นการสื่อความหมายในโลกของผู้ใหญ่ การพูดของเด็กใน
          - อายุ 2 ขวบ เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำโดยจะสามารถใช้คำนามได้ 20 %
          5. ระยะโครงสร้าง (structure stage) อายุ 4-5 ขวบ ระยะนี้เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการรับรู้และการสังเกต เด็กจะเริ่มเล่นสนุกกับคำและประโยคของตนเองโดยอาศัยการผูกจากคำวลี และประโยคที่เขาได้ยินคนอื่น ๆ พูด เด็กจะเริ่มคิดกฎเกณฑ์ในการประสมคำ และหาความหมายของคำและวลี โดยเด็กจะเริ่มรู้สึกสนุกกับการเปล่งเสียง โดยเขาจะเล่นเป็นเกมกับเพื่อน ๆ หรือสมาชิกในครอบครัว
          6. ระยะตอบสนอง ( responding stage ) อายุ 5-6 ขวบ ในระยะนี้ ความสามารถในการคิดและพัฒนาการทางภาษาของเด็กจะสูงขึ้น เขาจะเริ่มพัฒนาภาษาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น และใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวการพัฒนาทางภาษาของเด็กในวัยนี้จะเริ่มต้นเมื่อเขาเข้าเรียนในชั้นอนุบาล โดยเด็กจะเริ่มใช้ไวยากรณ์อย่างง่าย ๆ ได้ รู้จักใช้คำที่เกี่ยงข้องกับบ้านและโรงเรียน ภาษาที่เด็กใช้ในการสื่อความหมายในระยะนี้จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เขามองเห็นและรับรู้
          7. ระยะสร้างสรรค์ ( creative stage ) อายุ 6 ปีขึ้นไปในระยะนี้ได้แก่ ระยะที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กจะเล่นสนุกกับคำ และหาวิธีสื่อความหมายด้วยตัวเลข เด็กในระยะนี้จะพัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ทักษะในการสื่อความหมายโดยใช้ถ้อยคำ สำนวนการเปรียบเทียบและภาษาที่พูดที่เป็นนามธรรมมากขึ้น และเขาจะรู้สึกสนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
          - การเขียน ความสามารถในการเขียนจะเป็นไปตามพัฒนาการในวัยนั้น การให้เด็กเขียนควรจะต้องเป็นไปตามระดับความสามารถในวัยนั้น ๆ เช่น


          แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีบ่อยครั้ง ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง บางแขนงสามารถศึกษาได้โดยอิสระ บางแขนงก็ต้องศึกษาควบคู่กับแขนงอื่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ดังนี้
          สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นการศึกษาเสียงต่างๆ ซึ่งใช้ร่วมกันในภาษามนุษย์ทุกภาษา
          สัทวิทยา (Phonology) เป็นการศึกษารูปแบบเสียงพื้นฐานของภาษา
          วิทยาหน่วยคำ (Morphology linguistics) เป็นการศึกษาโครงสร้างภายในของคำและการเปลี่ยนรูปของคำ
          วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นการศึกษาการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
          อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาความหมายของคำ (lexical semantics) และวิธีการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย
          วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) เป็นการศึกษาวิธีการใช้ถ้อยความ(utterance) เพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร เช่น แบบตรงตัว (literal pragma) แบบอุปมาอุปไมย (figurative pragma) ฯลฯ
          ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics) เป็นการศึกษาภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความใกล้เคียงของคำศัพท์ การสร้างคำ และวากยสัมพันธ์
          แบบลักษณ์ภาษา (Linguistic typology) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางไวยากรณ์ที่ใช้อยู่ในภาษาต่างๆ
          วัจนลีลาศาสตร์ (Stylistics linguistics) เป็นการศึกษาลีลาในการใช้ภาษา
          อย่างไรก็ตาม ความสำคัญเฉพาะของแขนงต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และนักภาษาศาสตร์ทุกท่านก็เห็นพ้องกันว่า การแบ่งแขนงแบบดังกล่าวยังคงมีขอบเขตซ้อนทับกันอยู่มาก ถึงกระนั้น แขนงย่อยก็ยังคงมีคอนเซ็ปต์แก่นซึ่งสนับสนุนการตั้งประเด็นปัญหาและการวิจัย ของผู้ชำนาญการได้เป็นอย่างดี

          (ที่มา  :  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  ภาษาศาสตร์ : แขนงของวิชาภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี.)









ทฤษฎีศิลปะ
          ศิลปวิจารณ์เป็นความรู้อย่างหนึ่งในสุนทรียศาสตร์ ศิลปวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็น ต่อผลงานศิลปะอย่างมีหลักการ ศิลปวิจารณ์เป็นการใช้ทฤษฎีศิลปะเป็นฐาน เพื่อค้นหาคุณค่า ความงามในผลงานศิลปะนั้น ๆ ฉะนั้น การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีศิลปะในที่นี้ จึงไม่ใช่เพื่อนำไปใช้ในการสร้างงานศิลปะ แต่เพื่อนำ ความรู้นี้ไปใช้ประกอบการทำศิลปวิจารณ์ เพราะการเข้าถึงความงามทางศิลปะต้องเข้าใจใน หลักการและทฤษฎีซึ่งเปรียบเป็นไวยากรณ์ของศิลปะ เช่นเดียวกับการเข้าใจไวยากรณ์ภาษา ก็มีประโยชน์ในการวิจารณ์ศิลปะประเภทวรรณกรรม เป็นต้น ทฤษฎีศิลปะประกอบด้วย ค่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 ส่วน คือ  ส่วนประกอบมูลฐานของศิลปะ (Elements of Art) และหลักการศิลปะ (Principle of Art)
ทฤษฎีนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
          การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี (adoption and innovation theory) เรียกว่า กระบวนการยอมรับซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่แสดงออกถึงการยอมรับนำไปปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน (Roger and Shoemaker, 1978, p. 76)
          ขั้นที่ 1 การรับรู้ (awareness stage) เป็นขั้นแรกที่จะนำไปสู่การยอมรับหรือปฏิเสธสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ หรือกิจกรรมของบุคคลนั้น ยังไม่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับเนื้อหา หรือคุณประโยชน์ของนวัตกรรมนั้น ๆ ทำให้เกิดความอยากรู้นั้นต่อไป
          ขั้นที่ 2 สนใจ (interest stage) เป็นขั้นที่เริ่มมีความสนใจ หารายละเอียดเกี่ยวกับวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มเติม จะทำให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ และค่านิยม ตลอดจนบรรทัดฐานทางสังคม หรือประสบการณ์เก่า ๆ ของบุคคลนั้น
          ขั้นที่ 3 ประเมินค่า (evaluation stage) เป็นขั้นที่จะได้ไตร่ตรองถึงประโยชน์ในการลองใช้วิธีการหรือวิทยาการใหม่ ๆ ดีหรือไม่ เมื่อนำมาใช้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือไม่ โดยบุคคลนั้นมักจะคิดว่าการใช้วิทยาใหม่ ๆ เป็นการเสี่ยงทำให้ไม่แน่ใจถึงผลที่จะได้รับ ในขั้นนี้จึงเป็นการสร้างแรงเสริม (reinforcement) เพื่อให้เกิดความแน่ใจยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เขาตัดสินใจเพื่อเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อนวัตกรรมมีคุณค่าและมีประโยชน์
          ขั้นที่ 4 ทดลอง (trial stage) เป็นขั้นที่ใช้วิทยาการใหม่ ๆ นั้น กับสถานการณ์ตนเองเป็นการทดลองบางส่วนก่อนเพื่อจะได้ดูว่าผลลัพธ์และประโยชน์ที่จะได้รับว่าดีจริงอย่างที่คิดไว้ในขั้นประเมิน ซึ่งผลการทดลองจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจที่จะปฏิเสธหรือยอมรับต่อไป
          ขั้นที่ 5 ยอมรับ (adoption stage) เป็นขั้นที่บุคคลรับวิทยาการใหม่ ๆ นั้น ไปใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมของตนอย่างเต็มที่ หลังจากได้ทดลองปฏิบัติดูและเห็นประโยชน์แล้วยอรับนวัตกรรมเหล่านั้น
          กลุ่มคนในสังคมซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากการเป็นผู้ยอมรับหรือปฏิเสธเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเข้ามาภายในสังคมนั้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่าสังคมใดบ้างที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว หรือสังคมใดจะเปลี่ยนแปลงช้า ได้แบ่งกลุ่มผู้รับนวัตกรรมออกเป็น 5 กลุ่ม คือ (ปรเมศวร์ กุมารบุญ, 2552)
          1. กลุ่มที่รับนวัตกรรมเป็นกลุ่มแรกในสังคม (innovators) เป็นกลุ่มที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากที่สุด เพราะจะเป็นกลุ่มที่เป็นผู้สร้างหรือผู้นำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาในสังคม
          2. กลุ่มรับนวัตกรรมเร็วส่วนแรก (early adopter) ซึ่งอาจรับจากสื่อเฉพาะต่าง ๆ เช่น วารสารหรือสื่อบุคคล เป็นกลุ่มที่เป็นพวกทันสมัย ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้สังคมมีแนวโน้นและมีบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
          3. กลุ่มรับเร็วส่วนใหญ่ (early majority) เป็นคนกลุ่มที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเกิดขึ้น
          4. กลุ่มรับเร็วส่วนหลัง (late majority) เป็นกลุ่มคนที่ตัดสินใจในการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อนข้างช้าและต้องการความมั่นใจในระดับหนึ่งก่อนที่จะยอมรับนวัตกรรม
          5. กลุ่มล้าหลัง (laggards) เป็นกลุ่มที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมักเป็นผู้ที่มีทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหนียวแน่น ซึ่งหากในสังคมใดมีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ง่ายหรืออยากแตกต่างกัน กล่าวคือหากในสังคมหรือประเทศใดต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาด้านต่าง ๆ แต่คนในสังคมส่วนใหญ่เป็นพวกล้าหลัง การเปลี่ยนแปลงก็ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก ปัจจุบันนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถโต้ตอบกันได้ระหว่างผู้ส่งสารหรือผู้รับสารในการติดต่อสื่อสาร (interactive communication technology) มีแนวโน้นที่จะแพร่กระจายอย่างมาก และเป็นที่ต้องการของบุคคลในสังคมค่อนข้างสูง ทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณลักษณะของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของบุคคลมีลักษณะที่พบสรุปได้ ดังนี้ (1) สื่อใหม่มีความ สามารถในการสนองตอบการสื่อสารทั้งในระดับเล็กและระดับใหญ่ (2) คนส่วนใหญ่มักจะใช้สื่อนี้ได้กับการดำเนินงานในทุกประเภท (3) ทั้งคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมต่างมีความสัมพันธ์ และมีความยืดหยุ่นต่อการปรับใช้กับเครื่องมือต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ใช้เป็นสื่อวิทยุ หรือสื่อโทรทัศน์หรือหน่วยประมวลผล เป็นต้น 


ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา
ทฤษฎีดั้งเดิมหรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ
          เป็นทฤษฎีที่เน้นกิจกรรมทางพลศึกษาเป็นศูนย์กลางและปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณีซึ่งแบ่งได้ดังนี้
            กีฬาทีม เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล
          กีฬาเดี่ยวหรือกีฬาในชีวิตประจำวัน (lifetime sports) เช่น เทนนิส แบดมินตัน
          เต้นรำ เช่น การเต้นรำพื้นเมือง ชนบท
          กิจกรรมเสริมสร้างร่างกาย เช่น การวิ่งเหยาะๆ แอโรบิก
          เกมนันทนาการ เช่น เทเบิลเทนนิส
          กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น จักรยาน สเกต
          กิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ กีฬาทางน้ำต่างๆ
          หลักสูตรที่ใช้ทฤษฎีดั้งเดิมนี้จะจัดกิจกรรมใน7ลักษณะอย่างสมดุล รวมทั้งยังคำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐานเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติได้จริง เช่น ความสนใจของนักเรียน  ความสนใจของครู สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์และบรรยากาศการเรียน  และในการแบ่งกลุ่มนักเรียนนั้นเป็นการแบ่งตามระดับชั้นมากกว่าแบ่งตามระดับความสามารถหรือระดับพัฒนาการ ให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนกิจกรรมพลศึกษาตามชอบ การเลือกเรียนแบบนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีระดับความสนใจ ความกระตือรือร้น และแรงจูงใจมากขึ้น เป็นการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ สติปัญญา และร่างกาย
          ทฤษฎีนี้แนะนำถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดประโยชน์ภายใน หรือแรงจูงใจภายในและความพึงพอใจกิจกรรมต่างๆ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงพื้นฐานด้านคุณประโยชน์ภายนอกหรือแรงจูงใจภายนอก
ทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด (Conceptual Theory)
          เน้นเรื่องความแข็งแรงสมบูรณ์ (fitness) ด้วยการสอนแบบบรรยาย การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันนอกจากนี้ยังเน้นเรื่องความกินดีอยู่ดีของมนุษย์(human wellness)
          ความกินดีอยู่ดี หมายถึง สภาพของสุขภาพที่สำคัญซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต 
          ทฤษฎีมุ่งเน้นที่ความรู้และความเข้าใจในสมรรถภาพทางกายและการกินดีอยู่ดีเป็นหลัก เน้นที่วิชาการมากกว่าทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหว
(The Movement Forms Theory)

ทฤษฎีวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Movement Analysis Theory)
          ทฤษฎีนี้อธิบายถึงองค์ประกอบของการเคลื่อนไหวในเรื่องของเวลา พื้นที่ แรง คาน องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวจึงเป็นศูนย์กลางของการจัดโปรแกรมพลศึกษา การสอนก็มุ่งเน้นเกี่ยวกับแรง ความสมดุล การตี การเคลื่อนที่ เสถียรภาพ การทำงานของคานต่างๆ
          ทฤษฎีนี้ยังเน้นเรื่องของนิยามศัพท์ ความรู้และการวิเคราะห์ความสามารถ การสอนวิธีโดยอ้อม ซึ่งเรียกว่า การแก้ปัญหา หรือการค้นพบความสามารถของตนเองจากคำแนะนำ(ไม่ใช้การสอน)ของครูเข้าไปด้วย เช่น การวิเคราะห์วิธีการเล่นฟุตบอล รู้จักตำแหน่งการยืนของคู่ต่อสู้ แต่ทฤษฎีนี้มีส่วนที่เหมือนกับทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด คือ ถ้าใช้เวลาในการศึกษาและวิเคราะห์มากเท่าใดก็จะมีเวลาในการพัฒนาทักษะน้อยลงไปเท่านั้น
ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ หรือการกำหนดเป้าหมาย(Motive or Purpose Theory)
ทฤษฎีนี้เน้นเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
          พัฒนาการของคนแต่ละคน
          สิ่งแวดล้อม
          การปะทะสัมพันธ์กับสังคม (social interaction)
          การแบ่งความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วนนั้นต้องทำอย่างระมัดระวังหากมีการเน้นส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป เนื้อหาอื่นๆที่เหลือจะลดลง ถ้าเน้นมากไปทำให้เวลาในการฝึกทักษะทางกายลดลง จุดมุ่งหมายสำคัญของโปรแกรมอาจลดลงได้ การมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมพลศึกษาไม่เหมือนกับการมีประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมพลศึกษา(การปฏิบัติ)
ทฤษฎีระดับของพัฒนาการ(Developmental Level Theory)
          ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า กิจกรรมพลศึกษาที่แตกต่างกันประกอบกับวิธีการจัดกิจกรรมพลศึกษาเหล่านั้น ควรนำมาประกอบกันเป็นหลักสูตรให้ผู้เรียนที่มีพัฒนาการแตกต่างกันหลากหลายได้เรียน  หรือผู้เรียนควรได้เรียนกิจกรรมพลศึกษาที่จัดขึ้นด้วยการคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความพร้อมหรือมีความสามารถที่จะปฏิบัติกิจกรรมหรือดัดแปลงกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของตนเอง
          พัฒนาการของโครงสร้างร่างกายและความเจริญเติบโตที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการปฏิบัติทักษะในการเรียนพลศึกษาและกีฬาต่างๆ