วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเขียนบรรณานุกรม


เรื่องการเขียนบรรณานุกรม                               วิชาห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า     
การจัดทำบรรณานุกรม
บรรณานุกรม  หมายถึง  รายชื่อหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ  รวมทั้งโสตทัศนวัสดุที่มีการลงรายการตามแบบที่กำหนดไว้ของแต่ละประเภท  และมีการเรียบเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งตาม
แบบพจนานุกรม
           แบบบรรณานุกรมที่กำหนดขึ้นไว้ในแต่ละสถาบันอาจแตกต่างกันในเรื่องเครื่องหมายและ
การย่อหน้าแต่ละรายการที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุกับหลักเกณฑ์ในการลงรายการในบรรณานุกรมจะเหมือนกันดังนั้นหากห้องสมุดได้กำหนดใช้แบบใครยึดถือแบบนั้นตลอดไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนโดยเฉพาะกับนักเรียน   ครูแนะนำนักเรียนด้วยว่าบรรณานุกรมมีหลายแบบ  และที่โรงเรียนใช้แบบใดเมื่อนักเรียนไปศึกษาต่อที่อื่นควรได้ศึกษาแบบบรรณานุกรมขอองสถาบันนั้นๆ
และใช้ตามแบบโดยเคร่งครัด
          อนึ่ง  แบบบรรณานุกรมที่ใช้ในเอกสารนี้ใช้แบบของหนังสือชื่อ  แบบบรรณานุกรมและเชิงอรรถ ของ ม.ล.  จ้อย  นันทิวัชรินทร์  เป็นหลัก
          1.  แบบบรรณานุกรม
                   1.1  บรรณานุกรมหนังสือ  มีแบบการลงรายการและเครื่องหมายตามลำดับ  ดังนี้ 
ชื่อผู้แต่ง.  ชื่อหนังสือ.  ครั้งที่พิมพ์.  (ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งที่  2  ขึ้นไป
                 แต่ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องรายการนี้)  สถานที่พิมพ์  :  ผู้จัดพิมพ์ (สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์),  ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่างบรรณานุกรมหนังสือ
ธงทอง  จันทรางศุ.  ในกำแพงแก้ว.  กรุงเทพฯ:  บำรุงสาส์น,  2531.
Alexander,L.G.  and  others.  Englih Grammartical   Structure.  London :  Longman,  1985.

1.2  บรรณานุกรมบทความในสารานุกรม  มีแบบการลงรายการและเครื่องหมาย  ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.  ชื่อบทความ,  ชื่อสารานุกรม,  ชื่อบรรณาธิการ
                  (ถ้ามี),  เล่มที่ของสารานุกรม  (ปีที่พิมพ์),  เลขหน้า.  ตัวอย่าง
กิตติ  ทองลงยา.  นก,  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสม -
               เด็จพระเจ้าอยู่หัว,  เล่ม 1  (2516), 68-113.



Dunkle,John  R.  Yugoslavia,    The  Book  of  Knowledge,   
                   vol. 19  (1963) , 6879-6881.
ถ้าบทความไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ลงชื่อบทความเป็นรายการแรก  ดังตัวอย่าง
น้ำตาล  สารสำหรับคนชอบหวาน,  สารานุกรมวิทยาศาสตร์,  โดยสาขาครูวิทยาศาสตร์  
                    แห่งประเทศไทย  (2508), 83-84.
1.3  บรรณานุกรมบทความในวารสาร  มีรายละเอียดลงในบรรณานุกรม  ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.  ชื่อบทความ,  ชื่อวารสาร,  ตัวเลขของปีที่,  ตัวเลขของฉบับที่
                (วัน เดือน,ปี),  เลขหน้า. 
ตัวอย่าง
เจต  วราหะ.  มาดใหม่ของบ้านแบบประหยัด,  รู้รอบตัว.  6,65 (มิถุนายน,2534),
               62.64.
1.4  บรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์  มีรายละเอียดที่ลงบรรณานุกรม  ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.  ชื่อบทความ,  ชื่อหนังสือพิมพ์,  วัน  เดือน  ปี,  หน้า.
ตัวอย่าง
ไพลินทร์  สุรฤทธิ์แซวง.  ภูหินร่องกล้า...จากสนามรบ...มาสู่อุทยานแห่งชาติ, 
                   ไทยรัฐ,  17  มิถุนายน 2533,  หน้า 19.
          หากบทความไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนให้นำชื่อบทความมาลงเป็นรายการแรก  ดังตัวย่าง
นกกระทา  สัตว์เศรษฐกิจของมุกดาหาร,  มติชน,  26  เมษายน  2533,  หน้า  20.
2.  การเรียบเรียงบรรณานุกรม
          การจัดทำบรรณานุกรมครั้งหนึ่งๆ  ควรให้เป็นเรื่องเดียวกัน  และรวบรวมจากสิ่งพิมพ์หลายประเภท   ทั้งหนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์  บทความจากสารานุกรม  และอื่นๆ
2.1  วิธีรวบรวมบรรณานุกรม  ให้บันทึกรายละเอียดของสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทที่ใช้ในการเขียนบรรณานุกรมลงในสลิปบัตรรายการแผ่นละ  1  ชื่อเรื่อง  โดยคัดจากหนังสือหรือ
แหล่งข้อมูลต่างๆ  เช่น  บัตรรายการหนังสือ  หนังสือบรรณานุกรม  ดรรชนีวารสารหรือหนังสือดรรชนีวารสาร  สารานุกรมฯลฯ
          การเรียบเรียงบรรณานุกรมมี  2  แบบ  คือ  เรียงแยกประเภทของสิ่งพิมพ์  และเรียงสิ่งพิมพ์
ทุกประเภทไว้รวมกัน  โดยเรียงลำดับอักษรผู้แต่งตามแบบพจนานุกรรม  สำหรับห้องสมุดโรงเรียน  นิยมใช้แบบหลังเพราะมีสิ่งพิมพ์มากนัก  และการลงบรรณานุกรมหนังสือควรให้ลงหน้าใช้ค้นคว้าต่อท้ายไว้ด้วยจะช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
2.2  วิธีเรียบเรียงบรรณานุกรมลงในแผ่นกระดาษ  ให้เลือกว่าจะใช้แบบใดแบบหนึ่งเสียก่อน  แล้วนำสลิปที่บันทึกไว้มาเรียงตามลำดับ  เขียนหรือพิมพ์โดยเริ่มที่กลางหน้ากระดาษว่า  บรรณานุกรม  (ไม่ต้องขีดเส้นใต้)  จากนั้นให้ลอกบรรณานุกรมจากสลิปลงกระดาษที่ละเรื่องจนหมด  โดยเว้นระยะดังตัวอย่าง
ครรชิต  มาลัยวงศ์.  ศิลปะการอ่านหนังสือ.  กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,  2528.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น