วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ห้องสมุด

ความหมายของห้องสมุด
    ห้องสมุด  คือ  สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ในรูปของส่งพิมพ์  ได้แก่  หนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์  จุลสาร กฤตภาค ในรูปของต้นฉบับตัวเขียน เช่น สมุดข่อย และในรูปของโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ เช่น เทป สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดิทัศน์ ภาพ แผนที่ ลูกโลก เป็นต้น 
      คำว่า ห้องสมุด ภาษาอังกฤษ เรียกว่า  Library  
 
วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
   การจัดห้องสมุดมีวัตถุประสงค์  5  ประการ  คือ
    1.  เพื่อการศึกษา   ห้องสมุดได้ให้การศึกษาด้วยตนเองแก่ผู้ใช้ โดยการจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์
โสตทัศนวัสดุเข้าไว้ และจัดสิ่งเหล่านี้ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการใช้พร้อมทั้งให้บริการแก่ผู้ใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุดดังตัวอย่างเช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย มีหน้าที่โดยตรงในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การเรียนการสอนตามหลักสูตรให้ได้ผลอย่างเต็มที่
     2.  เพื่อความรู้  ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ และโสตทัศนวัสดุ ที่ให้ความรู้  ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง  และบริการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นการสนองความใคร่รู้ใคร่เห็นอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์
     3.  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของวิทยาการต่าง ๆ ที่จะช่วยในการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการใหม่ ๆ
     4.  เพื่อความจรรโลงใจ   ห้องสมุดเป็นที่รวบรวมหนังสือหลายประเภท เช่น หนังสือศิลป  ศาสนา  วรรณคดี  ชีวประวัติ  ซึ่งเหนังสือเหล่านี้ได้ให้ความจรรโลงใจ หรือความสุขทางจิตใจแก่ผู้อ่านให้รู้สึกซาบซึ้งในสำนวนภาษาอันไพเราะ
    5.  เพิ่อสันทนาการ  หรือ การบันเทิงพักผ่อนหย่อนใจ    ห้องสมุดได้จัดให้มีหนังสือ สิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุแล้ว  บางแห่งยังได้จัดบริการในทางบันเทิงที่จะช่วยให้คนได้รับความเพลิดเพลินทางใจ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย
ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดในปัจจุบันแบ่งออกไปตามหน้าที่เป็นประเภทต่าง ๆ  5  ประเภท  คือ 
1.  หอสมุดแห่งชาติ  นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนิน การโดยรัฐบาลหน้าที่หลักคือรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์และสื่อความรู้ ทุกกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศ ไม่ว่าจะจัดพิมพ์ ในประเทศใด ภาษาใด
2.  ห้องสมุดประชาชน เช่นเดียวกับหอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดประ- ชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะเป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาล แล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศ ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประ ชาชนเป็นห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มีในชุมชน
3.  ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ใน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร โดยการจัดรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่น ๆ ในหมวดวิชาต่าง ๆ ตามหลัก สูตร ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา
4.  ห้องสมุดโรงเรียน เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยม และ โรงเรียนประถมศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดย การรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่น ๆ ตามรายวิชา แนะนำสั่งสอนการใช้ ห้องสมุดแก่นักเรียน
5.  ห้องสมุดเฉพาะ คือห้องสมุดซึ่งรวบรวมหนังสือในสาขาวิชาบาง สาขาโดยเฉพาะ มักเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยราชการ องค์การ บริษัทเอกชน หรือธนาคาร ทำหน้าที่จัดหาหนังสือและให้บริการความรู้ ข้อมูล และข่าวสาร เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ
งานห้องสมุด
   งานของห้องสมุดแบ่งตามลักษณะของงานได้  3  อย่าง  คือ
1.  งานบริหาร
     หมายถึง  การดำเนินงานหรือการทำงานของบุคลากรทุกฝ่ายในห้องสมุด เพื่อให้งานของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ได้แก่งานจัดดำเนินงานห้องสมุดเกี่ยวกับสถานที่  ครุภัณฑ์  บุคลากร  การเงินและวัสดุอุปกรณ์  การกำหนดนโยบาย  การจัดทำแผนปฏิบัติงาน  โครงการต่าง ๆ การประเมินผลงาน และการประชาสัมพันธ์

2.  งานเทคนิค     หมายถึง   เป็นงานที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้  ในการค้นคว้าจากห้องสมุด  งานเทคนิค  ได้แก่ การเลือกและจัดหาสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  และโสตทัศนวัสดุเข้าห้องสมุด การจัดหมู่หนังสือ และโสตทัศนวัสดุ  การเตรียมหนังสือให้ยืม  การจัดหมู่หนังสือขึ้นชั้น  การซ่อมหนังสือและเย็บเล่มเข้าปก3.  งานบริการ     หมายถึง   เป็นงานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน  และส่งเสริมการอ่าน งานบริการ  ได้แก่
การบริการให้อ่าน  ให้ยืม  ช่วยการค้นคว้า  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
     เราอาจจะเขียนเป็นแผนผังงานต่าง ๆ ได้ดังนี้
งานบริหาร-  งานนโยบาย
-  งานบุคลากร
-  งานสถานที่  ครุภัณฑ์
-  งานการเงิน
-  งานควบคุม ดูแล และติดตามผล
-  งานเก็บสถิติ  ประเมินผล และรายงาน
-  งานประชาสัมพันธ์
-  งานธุรการ
งานเทคนิค-  งานเลือกและจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุ
-  งานจัดหมู่ ทำบัตรรายการ และจัดพิมพ์
-  งานจัดทำบรรณานุกรม และบรรณนิทัศน์
-  งานเตรียมหนังสือ โสตทัศนวัสดุและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ออกบริการ
-  งานซ่อมและเย็บเล่มเข้าปกวารสาร และหนังสือ
งานบริการ
-  งานยืม - คืน
-  งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
-  งานจัดกิจกรรมห้องสมุด
บุคลากรห้องสมุด
     1.  บรรณารักษ์     เป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดของห้องสมุด  เป็นผู้มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ มีหน้าที่ วางนโยบาย ดำเนินงาน ควบคุม ดูแลห้องสมุดให้บรรลุเป้าหมาย
      2.  ผู้ช่วยบรรณารักษ์    เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนบรรณารักษ์ได้เกือบทั้งหมด ต้องมีวุฒิทาง
บรรณารักษศาสตร์เช่นเดียวกัน ปฏิบัติงานตามที่บรรณารักษ์มอบหมาย
     
3.  บุคลากรโสตทัศนวัสดุ   เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้โดยตรง 
     4.  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด     เป็นผู้ปฏิบัติงานตามที่บรรณารักษ์หรือผู้ช่วยมอบหมาย  มีวุฒิอย่างน้อยจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  โดยเลือกวิชางานห้องสมุด 1, 2  สามารถพิมพ์ดีดให้คล่องแคล่ว และปฏิบัติงานห้องสมุดอื่น ๆ ได้
     
5.  ภารโรง    เป็นผู้ปฏิบัติงานในด้านปิด - เปิดห้องสมุด  ดูแลรักษาความสะอาดห้องสมุด 
คุณสมบัติของบุคลากรห้องสมุด   ได้แก่
1.  มีใบหน้าย้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
2.  เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เป็นนิจ
3.  มีความสะอาด  ละออ  รอบคอบ
4.  ใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ด้วยการอ่านหนังสือในห้องสมุดทุกเล่ม
5.  กระฉับกระเฉงว่องไว  ด้วยการออกกำลังกายอยู่เสมอ
6.  ให้บริการอย่างน่าประทับใจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับบริการต่อการเข้าใช้บริการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับบริการต่อการเข้าใช้บริการ
1. ผู้รับบริการต้องปฏิบัติตามประกาศของมหาวิทยาลัยและสำนักหอสมุดเกี่ยวกับการบริการ
ของสำนักหอสมุด กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมี
อำนาจดำเนินการ ดังนี้
(1) ตักเตือน
(2) เชิญให้ออกจากห้องสมุด
(3) ตัดสิทธิการใช้บริการห้องสมุด
(4) กรณีที่เป็นบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเสนอมหาวิทยาลัยให้พิจารณาลง
โทษทางวินัย
2. ผู้รับบริการห้องสมุดจะต้องตรวจดูความชำรุดเสียหายของทรัพยากรสารสนเทศก่อนการยืม
หากพบให้แจ้งบรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที มิฉะนั้นผู้รับบริการต้องรับผิดชอบใน
ความเสียหายของทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม
3. ผู้รับบริการห้องสมุดต้องรับผิดชอบต่อทรัพยากรสารสนเทศที่ยืม ดังนี้
3.1 หากทรัพยากรสารสนเทศชำรุดเสียหาย ผู้รับบริการต้องชดใช้ค่าเสียหาย เพื่อการซ่อมแซม
ตามจำนวนที่ซ่อมแซม หากไม่สามารถซ่อมแซมได้ จะต้องชดใช้โดยการซื้อในรายการ
ที่เหมือนกันหรือใหม่กว่าเดิม
3.2 หากทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย ผู้รับบริการต้องชดใช้ โดยการซื้อในรายการที่เหมือนกัน
หรือใหม่กว่าของเดิม กรณีที่มีค่าปรับเกินกำหนดส่ง ต้องชำระค่าปรับตามประกาศ
ของสำนักหอสมุด
3.3 ทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดเสียหาย ตามข้อ 3.1 และสูญหายตามข้อ 3.2 ในกรณีที่
ไม่สามารถซื้อมาทดแทนให้ได้ ผู้รับบริการต้องชำระค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของราคาทรัพยากร
สารสนเทศ และค่าดำเนินการให้เป็นไปตามอัตราค่าธรรมเนียมตามประกาศของสำนักหอสมุด
4. การใช้บริการบางประเภท ผู้รับบริการต้องเสียค่าใช้บริการตามประกาศของสำนักหอสมุด
5. ผู้รับบริการจะต้องระวังทรัพย์สินส่วนตัว รวมทั้งรักษาทรัพย์สินของห้องสมุดอย่างระมัดระวัง
กรณีที่ผู้รับบริการพบบุคคลที่น่าสงสัยหรือมีพิรุธ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
ของห้องสมุด ผู้รับบริการจะต้องแจ้งให้บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดทราบ ทั้งนี้ หากพบว่า
บุคคลดังกล่าวได้กระทำให้เกิดความเสียหายจริง ผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการ
แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมายต่อไป
กรณีทรัพย์สินของผู้รับบริการสูญหาย และมีผู้นำส่งให้ห้องสมุดเก็บรักษาและห้องสมุด
ได้ประกาศให้เจ้าของมารับ หากไม่มารับภายใน 1 ปี หลังจากประกาศ ห้องสมุดมีสิทธิใน
การดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวตามที่ห้องสมุดเห็นสมควร และห้องสมุดจะไม่รับ
ผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินดังกล่าว
6. ผู้รับบริการที่ยืมทรัพยากรสารสนเทศและนำส่งหลังวันที่กำหนดให้ส่ง ต้องชำระค่าปรับ อัตรา
ค่าปรับให้เป็นไปตามประกาศของสำนักหอสมุด


แบบทดสอบบทที่  1
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.  ห้องสมุด   หมายถึง 2.  วัตถุประสงค์ของห้องสมุดมีกี่ข้อ  ได้แก่อะไรบ้าง
3.  ประเภทของห้องสมุดมีกี่ประเภท  ได้แก่อะไรบ้าง
4.  งานของห้องสมุดมีกี่งาน  ได้แก่อะไรบ้าง
5.  งานจัดทำสถิติประเมินผล จัดเป็นงานด้านใด
6.  งานซ่อมหนังสือ  จัดเป็นงานด้านใด
7.  งานบริการยืม - คืน  จัดเป็นงานด้านใด
8.  ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบงานห้องสมุดทั้งหมดคือใคร
9.  บุคลากรห้องสมุด  มีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น