วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การระวังรักษาหนังสือ



การระวังรักษาหนังสือ

หนังสือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของห้องสมุดอันดับแรก ที่เก่าแก่ จัดหาง่าย และมี่ความจำเป็นต่อห้องสมุด แบ่งตามเนื้อหาเป็น 2 ประเภท คือ หนังสือสารคดี และบันเทิงคดี
           1. หนังสือสารคดี เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ช่วยส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัย          
          1.1 หนังสือทั่วไป เป็นหนังสือความรู้ทั่วไปในสาขาวิชาต่างๆที่ผู้ใช้ห้องสมุด สามารถเลือกอ่านเองตามความสมัครใจ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่
          1.2 ตำรา เป็นหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนตามหลักสูตรในระดับต่างๆ ในที่นี้รวมถึงแบบเรียน เอกสารคำสอน เอกสารประกอบการเรียน ประกอบคำบรรยายเป็นต้น         
          1.3 หนังสืออ่านระกอบ เป็นหนังสือที่ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผุ้กำหนดให้อ่าน เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางวิชาการ จึงใช้อ่านประกอบนอกเหนือจากตำราและแบบเรียน             

          1.4 หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือประกอบการค้นคว้าทำรายงาน ช่วยตอบคำถามเพื่อหาข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเลือกอ่านเฉพาะเรื่อง หรือตอนที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่ม จึงเป็นหนังสือที่ใช้อ่านภายในห้องสมุดเท่านั้น          

           2. หนังสือบันเทิงคดี เป็นหนังสือที่ผู้เขียนมุ่งให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงและข้อคิดในการดำเนินชีวิต ผู้เขียนอาจเขียนจากจินตนาการ หรือประสบการณ์ส่วนตัวได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็ก เป็นต้นหนังสือประกอบด้วยส่วนต่างๆ หลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่ และประโยชน์ต่างกันบางเล่มอาจมีส่วนต่างๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่หนังสือภาษาไทยมีน้อยที่จะครบทุกส่วน

           ส่วนต่างๆที่สำคัญของหนังสือมีดังนี้             
 1. ใบหุ้มปก (Book Jacket) เป็นส่วนแรกของหนังสือ มักพบในหนังสือนวนิยาย สารคดี บนใบหุ้มปกจะมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งปรากฏ และส่วนที่พับเข้าข้างในอาจมีประวัติย่อผู้แต่ง คำวิจารณ์เนื้อเรื่องย่อของหนังสือ มีประโยชน์คือช่วยดึงดูดความสนใจผู้อ่าน และป้องกันหนังสือไม่ให้เก่าเร็ว
             
 2. ปกหนังสือ (Cover/Binding)จะเป็นปกอ่อน หรือปกแข็งก็ได้ ปกหน้า และปกหลังจะยึดติดกันด้วยสันหนังสือ บนปกจะปรากฏชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง บางครั้งจะปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ ห้องสมุดจะเขียนเลขเรียกหนังสือ (Call Number) ไว้บนสันหนังสือ หรือที่ปก (กรณีที่หนังสือเล่มนั้นบาง สันแคบ )
ปกหนังสือจะช่วยให้รูปทรงของหนังสือมีความคงทน         
3. ใบรองปก (Enpapers/Flyeave) มักเป็นกระดาษสีขาว ไม่มีข้อความใดๆ ปรากฏ จะมีทั้งปกหน้าและปกหลัง ซึ่งเป็นส่วนให้ตัวเล่มติดกับปก
         
4. หน้าชื่อเรื่อง (Half-Title page) เป็นหน้าที่บอกเฉพาะชื่อเรื่อง หรือชื่อหนังสือ จะบอกทั้งชื่อเรื่องหลัก และชื่อเรื่องรอง เช่น
มนุษย์ : ภาวะกายละจิตรขันติธรรม : ประตูสู่สันติภาพ5. หน้าปกใน (Title Page) เป็นหน้าที่สำคัญที่สุด เพราะให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ ให้ผู้อ่านได้ทราบคือ               
                   5.1 ชื่อเรื่อง (Title) จะบอกทั้งชื่อเรื่องหลัก และชื่อเรื่องรอง กรรีหนังสือบางเล่ม ชื่อที่หน้าปก และหน้าปกในไม่ตรงกัน จะถือว่า ชื่อเรื่องจากหน้าปกเป็นชื่อเรื่องที่ถูกต้อง
                 
               5.2 ชื่อผู้แต่ง (Author) หมายถึงผู้แต่งร่วมผู้แปล ผู้รวบรวม ถ้าเป็นหนังสือวิชาการ ตำราแบบเรียน บางครั้งจะบอกคุณวุฒิ ตำแหน่งหน้าที่การงาน และประสบการณ์การทำงานของผู้แต่ง
               
                 5.3 ครั้งที่พิมพ์ (Edittion) หมายถึงจำนวนครั้งที่หนังสือเล่มนั้นได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่าหนังสือเล่มนั้นได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากน้อยเพียงใด ถ้าได้รับความนิยมก็จะมีการพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 2..3..... หนังสือภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Second Edittion (2 nd ed.) สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 2, Third Edition (3 rd ed.) สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 3 เป็นต้น ในการพิมพ์ครั้งใหม่หากมีการปรับปรุงเนื้อหา ก็จะบอกว่า “ฉบับปรับปรุงแก้ไข”(Revised Edition)
ครั้งที่พิมพ์มีความหมายคุณค่าต่อหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีเนื้อหาทันสมัย มีความเป็นปัจจุบัน ย่อมเป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้มากกว่าฉบับพิมพ์ครั้งแรก             
                5.4 สำนักพิมพ์ (Publish) หมายถึง ชื่อของสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ ผลิตจำหน่าย หนังสือ เช่น สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช แพร่พิทยา ดวงกมล ซีเอ็ดยูเคชั่น ฯลฯ
สถานที่พิมพ์ (Place) หมายถึง ชื่อเมือง จังหวัด รัฐ หรือ ประเทศที่จัดพิมพ์หนังสือ               
                 5.5 ปีพิมพ์ (Date of Publisher) คือ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น ซึ่งแสดงถึงความใหม่ของหนังสือ
   
6. หน้าลิขสิทธิ์ (Copyright page) อยู่ด้านหลังหน้าปกใน เป็นหน้าที่บอกปีที่จดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจมีข้อความที่แสดงลิขสิทธิ์ไว้ เช่น “ ผู้ใดจะคัดลอก ตัดตอน หรือแปล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้แต่งไม่ได้ ” บางครั้งจะมี © 1989
   
7. หน้าคำอุทิศ (Dedication Page) เป็นข้อความที่ผู้เขียนกล่าวอุทิศผลงาน หรือความดีของหนังสือ ให้ผู้มีพระคุณ หรือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการเขียนหนังสือ เพื่อแสดงความกตัญญูไม่จำกัดว่าจะต้องเขียนให้ผู้ตาย อาจเป็นพ่อแม่ ครู-อาจารย์ หรือผู้ที่เคารพนับถือ
             
8.คำนำ (Preface) คือข้อความที่ผู้เขียนกล่าวถึงวัตถุประสงค์สาเหตุ หรือแรงจูงใจที่ทำให้เขียนหนังสือ และกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ
           
9.สารบัญ/สารบาญ (Content) หมายถึงรายชื่อบทหรือตอนต่างๆของหนังสือ เรียงตามลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมบอกเลขหน้าที่ปรากฏ เพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องราวได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้อ่านทราบขอบเขตของหนังสือว่ามีเนื้อหากว้างหรือแคบเพียงใด
           
10. เนื้อเรื่อง (Text) คือรายละเอียดของหนังสือตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย
         
11. เชิงอรรถ (Footnote) คือข้อความที่อยู่ตอนล่างของแต่ละหน้า เพื่ออธิบายคำหรือข้อความบางตอนในเนื้อหา หรือบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมาประกอบเป็นหลักฐานในการเขียนหนังสือ หนังสือประวัติศาสตร์ วรรณคดี โบราณคดีจะมีเชิงอรรถมากกว่าหนังสือประเภทอื่น
         
12. บรรณานุกรม (Bibliography) คือ รายชื่อสารนิเทศที่ใช้ประกอบการค้นคว้าในการเขียนหนังสือ บางเล่มจะอยู่ท้ายบทแต่ละบท หรือท้ายเล่มมีประโยชน์คือ ทำให้ทราบรายชื่อสิ่งพิมพ์ที่ผู้แต่งใช้ประกอบการค้นคว้าในการเขียนหนังสือเมื่อผู้อ่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถศึกษาได้จากรายชื่อนั้นๆ
       
13.ดัชนี/ดรรชนี (Index) คือ เรื่องย่อยๆ คำหรือข้อความสั้นๆ เรียงตามลำดับอักษร
ก-ฮ พร้อมกับเลขหน้าที่ปรากฏคำนั้นๆ อยู่ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านค้นหาเรื่องย่อยๆ ในหนังสือนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว บางเล่มใช้คำว่า “สารบัญค้นเรื่อง” หรือ “สารบัญค้นคำ”โดยทั่วไปจะอยู่ท้ายเล่ม แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด หลายเล่มจบ เช่น สารานุกรม ดรรชนี มักอยู่เล่มสุดท้ายของชุด       
14. ภาคผนวก (Appendix) คือข้อความที่ผู้เขียนเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง หรืออธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เนื้อหาของหนังสือสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งไม่สามารถอธิบายในเนื้อหา เช่นคำถาม-คำตอบเฉลยข้อความมาตราต่างๆทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
     
15. อภิธานศัพท์ (Glossary) คือส่วนที่รวบรวมศัพท์เฉพาะทางวิชาการ หรือ ศัพท์ยากในหนังสือ โดยอธิบายความหมายของคำเหล่านั้นเรียงตามตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านค้นคว้าได้สะดวกและเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่ใช้ศัพท์เทคนิคมาก เช่น ศัพท์แพทย์ศัพท์
คอมพิวเตอร์การระวังรักษาหนังสือไม่ว่าจะเป็นหนังสือส่วนตัว หรือของห้องสมุดควรปฏิบัติดังนี้             
1.พยายามระวังไม่ให้เปรอะเปื้อน ซึ่งอาจเกิดจากมือที่ใช้จับ เปื้อนหรือสิ่งอื่นหกใส่
           
2. ไม่ขีดเขียน หรือทำเครื่องหมายใดๆ ลงในหนังสือให้สกปรก โดยเฉพาะหนังสือห้องสมุด หรือส่วนรวม
              3. สำหรับหนังสือที่มีการแก้คำผิด ควรมีการแก้คำผิดตามใบแก้คำผิดที่แนบมากับตัวหนังสือก่อน           
4. ระวังไม่ให้หนังสือเปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือพองตัว แม้แห้งแล้วก็ไม่สามารถ
คืนรูปทรงเดิมได้ และยังทำให้กระดาษกรอก ขาดง่าย         
5. อย่าเอาหนังสือคว่ำหน้าลงกับพื้น จะทำให้หนังสือหัก และหลุดจากกันได้ง่าย
       
6. เมื่ออ่านหนังสือยังไม่จบ ต้องการพัก ให้ใช้ที่คั่นหนังสือที่มีลักษณะบางๆ คั่นสอดไว้
ห้ามใช้วิธีพับหน้าหนังสือ หรือมุมกระดาษ หรือใช้ของที่มีความหนาคั่น         
7. อย่าขโมย ตัด ฉีก รูปภาพ หรือข้อความจากหนังสือของห้องสมุดโดยเด็ดขาดหากต้องการควรนำไปถ่ายเอกสาร

        การเปิดหนังสือใหม่

1) ให้วางหนังสือ โดยเอาสันหนังสือทาบกับพื้นโต๊ะ
2) เปิดปกหน้าและปกหลังออก ให้ปกแนบกับพื้นโต๊ะ
3) ค่อยๆเปิดหนังสือทางด้านหน้าครั้งละ 8-10 ใบ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือที่สะอาดรีดตอนที่ติดกับสันให้เรียบ และ  เปิดทางด้านหลังอีก ครั้งละ 8-10 ใบ
4) ปฏิบัติตามข้อ 3  ทำสลับกันไปเช่นนี้ จนกระทั่งหมดเล่ม

        วิธีหยิบหรือจับหนังสือ
ให้จับที่ตรงกลางสันของหนังสือ เวลาเก็บหนังสือขึ้นชั้น เอาทางสันออกข้างนอก และอย่าใส่หนังสือแน่นเกินไป ใช้ที่กั้นหนังสือกันไม่ให้หนังสือล้ม  เมื่อเปิดหน้าหนังสือ ใช้มือจับที่หัวมุมขวาของหนังสือ แล้วเปิดอย่างระมัดระวัง
        วิธีระวังรักษาหนังสือ
1) ไม่ควรเปิดหนังสืออ่าน โดยกางหน้าหนังสืออย่างเต็มที่ หรือกางเกิน 180 
2) ไม่ควรทำเครื่องหมายใดๆในหนังสือ นอกจากเป็นหนังสือส่วนตัว
3) เมื่ออ่านหนังสือยังไม่จบ ควรใช้ที่คั่นหนังสือคั่นหนังสือไว้ ไม่ควรพับมุมหน้าหนังสือ  หรือใช้วัสดุที่มีความหนาคั่น  จะทำให้
     กระดาษขาดหรือปกชำรุดได้ง่าย
4) อย่ากางหนังสือไว้แล้วคว่ำกับพื้นโต๊ะ  จะทำให้สันหนังสือแยก
5) ควรเก็บหนังสือในอุณหภูมิที่เหมาะสม   กล่าวคืออย่าให้หนังสือเปียกชื้นหรือร้อนอบอ้าวจนเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น