วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างและวิธีทำโครงงาน

ตัวอย่างและวิธีการทำโครงงาน

โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆ สำหรับ เป็นการแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดจะเรียกว่าโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ
การทำโครงงาน
1.    กำหนดปัญหา หัวข้อเรื่อง
2.    ตั้งสมมุติฐาน หรือคำตอบชั่วคราว
3.    ออกแบบการศึกษาค้นคว้า การทดลอง
4.     ลงมือปฏิบัติ
5.     สรุปผลโดยการจัดทำรายงานโครงงาน......อาจมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น.......
6.     นำเสนอผลงาน ประเมินผล
7.     จัดนิทรรศการ ส่งประกวด
หัวข้อการเขียนรายงานโครงการ
1.    โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้..............เรื่อง..............
2.     ผู้จัดทำ............อาจารย์ที่ปรึกษา..............โรงเรียน.........สังกัด.......ระดับชั้น....
3.     บทคัดย่อ
4.     กิตติกรรมประกาศ
5.     บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน........วัตถุประสงค์........สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า......ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า........ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง........... (ถ้ามี)....
6.     บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานเรื่องนี้
7.     บทที่ 3 อุปกรณ์ วิธีดำเนินการศึกษา
8.     บทที่ 4 ผลการศึกษา และอภิปรายผล
9.     บทที่ 5 สรุปผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ
10.    เอกสารอ้างอิง
11.    หมายเหตุ : ตัวอย่างโครงงานเป็นของนักเรียน จึงมีรูปแบบหลากหลายตามความสามารถของนักเรียนแต่ละระดับชั้น





ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
บทที่  1
บทนำ
แนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                                จากการที่คณะผู้จัดทำได้เห็นผู้ปกครองและชาวบ้านนำเอกหัวบุก ต้นบุกมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แต่หัวบุกก็ยังมีเหลืออยู่อีกมาก และไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความคิดและได้ปรึกษากันว่า ถ้าหากเรานำเอาหัวบุกที่มีอยู่มาดัดแปลง หรือแปรรูปเป็น “หัวบุกผงด้วยกรรมวิธีง่ายๆ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานอีกทั้งยังคงคุณค่าของอาหารด้านโภชนาการ เพื่อเป็นการสะดวกที่จะนำไปใช้ได้หลายอย่าง

 วัตถุประสงค์
1.       เพื่อแปรรูปหรือดัดแปลงหัวบุกที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.       เพื่อสามารถเป็นการประหยัดรายจ่ายและเป็นอาชีพเสริมของตนเองและครอบครัวได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.          ได้หัวบุกผงนำไปดัดแปลงเป็นอาหารและของขบเคี่ยวต่างๆ
2.          เป็นการประหยัดรายจ่ายและเป็นการประหยัดเวลา
3.          เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมเสริมตามโครงการเสริมรายได้ระหว่างเรียน
4.          ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5.          รู้จักการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และรู้จักการแปรรูปอาหาร

ตัวแปรที่ศึกษา
1.       ตัวแปรต้น หัวบุก
2.       ตัวแปรตาม หัวบุกผง
3.       ตัวแปรควบคุม ความแก่ของหัวบุก อุณหภูมิ เวลา

สมมติฐานในการศึกษา
          นำหัวบุกที่อบสุกแล้วไปตากให้แห้ง แล้วนำไปปั่นให้ละเอียดเป็นผง สามารถนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารหวานและของขบเคี้ยวหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้

 คำนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
           การอบ หมายถึง การทำให้สุกและสามารถนำไปรับประทานได้
          อุณหภูมิ หมายถึง การทำให้ละเอียดเป็นผงโดยใช้เครื่องปั่น

บทที่ 2
ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี คณะผู้จัดทำได้ศึกษาคุณสมบัติของหัวบุกประกอบการคิดค้นทดลองดังต่อไปนี้

ลักษณะของบุก
บุกเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีลำต้นแตกต่างกันออกไป บางต้นสูงใหญ่ บางต้นเล็ก ลำต้นจะเป็นสีขาวนวลและมีสีเขียวสลับกัน จะมีมากในฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคมจากนั้นลำต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและแห้งแต่ใต้ดินจะมีหัวบุกอยู่ ซึ่งหัวบุกนี้จะมีอายุแก่เต็มที่ประมาณเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ ต้นบุกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันและแต่ละชนิดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1.     บุกหนามหรือบุกป่า ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะมีหนามเล็กๆ ทั่วลำต้นและมียางซึ่งยางของบุกเมื่อถูกหรือจับจะมีอาการคัน บุกชนิดนี้ส่วนมากจะนำมาเป็นอาหารของสัตว์คือ หมูและดอกของบุกชนิดนี้นำมาประกอบหรือเป็นส่วนผสมของน้ำพริกมะกอกได้
2.     บุกเกลี้ยง ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะเหมือนกันกับบุกหนามแต่จะผิดกันตรงลำต้นไม่มีหนามแต่จะมียางลักษณะเดียวกันกับ
บุกหนาม เมื่อถูกหรือจับยางจะมีอาการคันบุกชนิดนี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ทั้งคนและสัตว์หรือที่นำมาแปรรูปสกัด
เป็นบุกคอนยัคกี้
3.       บุกเบือ ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะมีลักษณะเด่นคือไม่มีหนามและจะมีสีเขียวกับสีขาวนวลที่เจือจางกว่าบุกทั้งสองชนิด
ที่กล่าวมา บุกชนิดนี้จะนิยมปลูกกันตามบ้านเพราะจะใช้เป็นอาหารได้ตั้งแต่ต้นอ่อนจนถึงต้นที่แก่ สามารถนำมาแกงส้มหรือแกงเหลือง และหัวบุกยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารหวาน อาหารคาว และของขบเคี้ยวได้อีกด้วย
           บุกทั้งสามชนิดที่กล่าวมานี้ ส่วนมากจะมีแถบภาคเหนือแต่ก็ไม่มีทุกจังหวัด จะมีมากเป็นบางจังหวัดและบุกทั้งสามชนิด
จะมีลักษณะของลำต้น ใบ หัว ที่คล้ายกันมากที่สุด หากไม่สังเกตจะแยกไม่ออกว่าบุกชนิดใดที่เป็นบุกป่า บุกชนิดใดที่เป็นบุกเกลี้ยง และบุกเบือ

การถนอมอาหาร
                การถนอมอาหาร หมายถึง การทำให้อาหารอยู่ได้นานวัน รวมถึงการดัดแปลงหรือการแปรรูปอาหารด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยอาหารนั้นจะไม่สูญเสียคุณค่าและอยู่ได้นาน


หลักเกณฑ์การถนอมอาหาร
1.       ความสะอาดและการทำลายยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
2.       เลือกวิธีการถนอมอาหารให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
  
วิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธี
1.       การทำให้แห้ง โดยการตากแดด
2.       การเชื่อม
3.       การรมควัน
4.       การกวน
5.       การอบแห้ง
6.       การแช่อิ่ม และการบรรจุขวด
ประโยชน์ของการถนอมอาหาร
1.       ช่วยเก็บอาหารไว้ได้นานและมีอาหารไว้รับประทานนอกฤดูกาล
2.       ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ขึ้น
3.       ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น